สั่งของจากจีน พลังของอิโมจิกับการสื่อสาร บนแอปพลิเคชันแชท

สั่งของจากจีน พลังของอิโมจิกับการสื่อสารบนแอปแชท-Weshopchina สั่งของจากจีน สั่งของจากจีน พลังของอิโมจิกับการสื่อสาร บนแอปพลิเคชันแชท                                                                                                        Weshopchina 768x402

สั่งของจากจีน ปัจจุบัน ผู้คนนิยมหันมาใช้งานแอปพลิเคชันส่งข้อความบนมือถือมากยิ่งขึ้น เช่น Facebook Messenger,  WhatsApp, Line, Twitter เป็นต้น

ส่งผลให้การขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางเหล่านี้เริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

       จุดเด่นของแอพเหล่านี้นอกจากจะมีลูกเล่นต่างๆ ที่น่าสนใจแล้ว ยังมีการใช้อิโมจิ (Emoji) หรืออิโมติคอน (Emoticons) ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มันคือสัญลักษณ์ที่ถูกแปลงเป็นรูปภาพหรือไอคอน ซึ่งผู้บริโภคมักใช้แสดงแทนคำพูด อารมณ์และความรู้สึกของพวกเขา ทำให้ข้อความเหล่านั้นน่าสนใจและมีอรรถรสมากขึ้น 

        วันนี้ Weshopchina จึงได้รวบรวมข้อมูลการสำรวจการใช้งานแอพส่งข้อความรวมทั้งการใช้อิโมจิในแอพเหล่านี้ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อาจจะทำให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณโดดเด่นกว่าใครก็เป็นได้

        จากรายงานของ Emoji Report ปี 2016 แสดงให้เห็นว่า การใช้งานต่อเดือนของแอพส่งข้อความสูงกว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียและมีการใช้งานต่อวันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย โดย  Facebook Messenger มีผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกามากกว่า 60% ที่ใช้งานแอพเป็นประจำทุกเดือน ตามด้วย iMessage, Twitter, Snapchat, WhatsApp, Kik และแอปอื่น ๆ ของ Apple 

        อย่างไรก็ตามแม้จะมีผู้ใช้งาน Messenger ต่อเดือนโดยเฉลี่ยมากขึ้น แต่ iMessage ยังครองการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของฐานการใช้งานต่อวัน แอพที่ดีที่สุดอีกหนึ่งแอพคือ WhatsApp ซึ่งครองการมีส่วนร่วมของอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือ

        รายงานยังพบอีกว่า อีโมจิเป็นภาษาที่เติบโตเร็วที่สุดและมีข้อความบนมือถือที่น่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งมีมากกว่า 2.3 ล้านล้านข้อความ และในปัจจุบัน 92% ของประชากรออนไลน์ทั่วโลกใช้อิโมจิในแอพส่งข้อความ อย่างไรก็ตาม ในบรรดาผู้ใช้แอพข้อความมือถือจำนวนมาก พบว่า

  • ผู้หญิงส่งข้อความมากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิง 56% ส่งข้อความมือถือหลายรายการต่อวันเมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีเพียง 44%
  • มีผู้ใช้งานการส่งข้อความผ่านแอพบนมือถือรวมทั้งอิโมจิกว่า 56%
  • ผู้คนนิยมแชร์อิโมจิ ควบคู่ไปกับการส่งภาพถ่ายและวิดีโอ
  • ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา 3 ใน 4 คน สนใจใช้อิโมจิที่หลากหลาย

        ในด้านการใช้แอพ Mobile Messaging ในสหรัฐอเมริกา พบว่า

  • Facebook Messenger ครองตำแหน่งผู้ใช้แอพข้อความมือถือ (MAUs) มากกว่า 60% ต่อเดือน รองลงมาได้แก่ Twitter อยู่ที่ 34% Apple iMessage 37% ส่วน Skype, Google Hangouts, Snapchat อยู่ที่ 28% 23% และ 21% ตามลำดับ ส่วนแอพอื่นๆ มีผู้ใช้งานต่ำกว่า 10%
  •  แม้ว่าจะมีผู้ใช้แอพข้อความมือถือ Facebook Messenger กว่าครึ่งหนึ่ง แต่การใช้งานแอพรายวันกลับพบว่า Apple iMessage ได้ครอบครองการมีส่วนร่วมของผู้ใช้มากกว่าครึ่ง เนื่องจากมีการใช้งานแอพหลายครั้งต่อวัน นอกจากนี้ WhatsApp เป็นอีกหนึ่งแอพที่ดี โดย มีระดับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานครึ่งหนึ่งของ Apple iMessage
  • 2 แอพที่โดดเด่นที่สุดในการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ได้แก่ Facebook Messenger ตามด้วย Apple  iMessage ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแอพอื่นๆ แล้ว ทั้ง 2 แอพนี้มีระดับการใช้งานในแต่ละวันและการแชร์ข้อความโดยรวมอยู่ในระดับสูง

        นอกจากนี้ แอพส่งข้อความบนมือถือรายใหญ่กำลังริเริ่มใช้อีโมจิในการขยายฟังก์ชั่นแอพ เพื่อสร้างความแตกต่างและพัฒนาความภักดีของผู้ใช้  โดย Snapchat ได้เปิดตัวอีโมจิประยุกต์ที่ล้ำสมัยที่สุด โดยจะเพิ่มอีโมจิถัดจากชื่อเพื่อนของคุณโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นไปตาม ความถี่ของการส่งข้อความ วันเกิด ราศี สถานการณ์แชท และบัญชีที่ตรวจสอบแล้วอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มสติกเกอร์ 3 มิติในวิดีโอ โดยสามารถปักหมุดสติกเกอร์ไปยังวัตถุในวิดีโอแล้วอีโมจินั้นจะเลื่อนไปมาพร้อมวัตถุนั้น ส่วน Facebook มีคุณสมบัติอีโมจิหลากหลาย เช่น

  • ปฏิกิริยาของ Facebook ที่เพิ่มอีโมจิได้ถึง 6 รูปลงในไทม์ไลน์ของผู้ใช้เพื่อแสดงฟีดอื่นๆ มากกว่าการ “ยกนิ้ว” แบบดั้งเดิม
  • Facebook Messenger เปิดตัวอีโมจิใหม่มากกว่า 1,200 แบบในปีนี้
  •  Facebook เพิ่งยื่นสิทธิบัตรเพื่อใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า โดยจะระบุอีโมจิที่ผู้ใช้งานเลือกใช้บ่อยที่สุดกับใบหน้า  เมื่อมีการใช้อีโมจินั้น Facebook อาจแทนที่การจับคู่รูปภาพใบหน้าของผู้ใช้

        ในด้านการตลาด มีแบรนด์มากมายรวมถึง Burger King, Dove, Gatorade, Pepsi และ Taco Bell  ได้ใช้พลังของอิโมจิในการสร้างแบรนด์ จากรายงานพบว่า ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาต้องการตัวเลือกอีโมจิที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกหมวดหมู่  (เช่นไม่ใช่อีโมจิสุนัขทั่วไป แต่เป็นสุนัขสายพันธุ์ ไม่ใช่แค่อีโมจิกาแฟ แต่เป็นเครื่องดื่มเฉพาะ ไม่ใช่เฉพาะอีโมจิเบียร์ แต่เฉพาะแบรนด์เบียร์) ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาจะใช้อีโมจิที่มีตราสินค้าเป็นทางเลือกในการส่งข้อความ 

         อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อีโมจิถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งสำหรับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การสื่อสารไปจนถึงการตลาด ซึ่งมีแนวโน้มได้รับความนิยมสูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์สามารถใช้เทคนิคนี้ในการสร้างข้อความที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย การตอบแชทลูกค้า การสั่งของจากจีน การสร้างโพลหรือฟีดแบค ต่างๆ ที่นอกจากจะทำให้ข้อความดูน่าสนใจแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภครู้สึกสนุกและอยากมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้องต่อได้ที่ How To จัดการคอมเมนต์เชิงลบ บนโซเชียลมีเดีย

ที่มา: CMO by Adobe