สั่งสินค้าจากจีน ปัจจุบันโลกออนไลน์ ไม่ได้มีพื้นที่สำหรับติดตามข่าวสารบน Social Media เท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถทำการซื้อขายสินค้าและบริการ หรือสั่งสินค้าจากจีน รวมถึงการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ อีกด้วย
ที่ผ่านมา ร้านค้าออนไลน์บน Social Media นั้น ไม่ได้อยู่ในระบบของกรมสรรพากรและไม่มีการยื่นแบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ กรมสรรพากร จึงได้ออกกฏหมายควบคุมในส่วนนี้ หรือที่เรียกว่าภาษีออนไลน์ (E-Payment)
แล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย ต้องเตรียมตัวอย่างไรกับภาษีออนไลน์ ( E-Payment) weshopchina รวมรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่านทุกท่าน
ภาษีขายของออนไลน์หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาษี E-Payment เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม 2562 แต่ไม่ได้หมายความว่า พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้อง จ่ายภาษีในทันที หากแต่ว่าในอีก 1 ปีข้างหน้า ถ้า Transaction ของคุณเข้าเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ต้องเสียภาษี คุณจะต้องมีการยื่นแบบภาษี ในระยะเวลาที่กำหนด คือ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ปี 2563 นั่นหมายความว่า ปีนี้ คุณยังไม่ต้องจ่ายภาษี เพียงแต่ว่าต้องมีการบันทึกประวัติ Transaction ของคุณเอาไว้ก่อน
หากคุณไม่ทราบว่าเกณฑ์การเงินของคุณเข้าเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะต้องจ่ายภาษีหรือไม่นั้น ต้องให้สถาบันการเงินเช็ค Transaction ดังต่อไปนี้
1. ใครก็ตามที่มีการรับโอนเงิน 3,000 ครั้งต่อปี (สมมุติว่าคุณโดนแกล้งโอนครั้งละ 1 บาท) ก็นับว่ามีการรับโอน 1 ครั้ง ทุกกรณี ไม่ว่าจะยอดเงินเท่าไหร่ และ สถาบันการเงินจะต้องส่ง Report ไปที่สรรพากร
2. หรืออีกหนึ่งแบบคือ ถ้าคุณมีการรับโอนเงิน 400 ครั้งต่อปี และมีมูลค่ารวมแล้ว เกิน 2,000,000 บาท สถาบันการเงินก็จะต้องส่ง Report ไปที่สรรพากร เช่นเดียวกัน
3. แต่ ถ้ามีการรับโอนเงิน 400 ครั้งต่อปี แต่มูลค่ารวมไม่ถึง 2,000,000 บาท สถาบันการเงินจะไม่มีการส่ง Report ไปที่สรรพากร
แม้ว่าจำนวนครั้งที่มียอดรับโอน ไม่ว่าจะเป็น เงินดอกเบี้ย เงินปัญผล ฯลฯ
ถ้าข้อมูลของคุณถูกส่งไปที่สรรพากร ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องเสียภาษีเสียทีเดียว แต่เป็นเพียงการประเมิน ว่าการที่คุณมี Transaction เท่านี้ จะต้องเสียภาษีจริงหรือไม่ ซึ่งสรรพากรอาจนำข้อมูลไปคำนวนอีกครั้งในภายหลัง เพราะฉะนั้นแล้ว พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ เพราะเรามีเวลาพอที่จะวางแผนได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด ที่ เราอยากจะแนะนำนักธุรกิจออนไลน์ คือ ให้เก็บหลักฐานทุกๆ อย่างเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น บิล ใบเสร็จค่าใช้จ่าย ฯลฯ ไม่เพียงแค่การทำบัญชีเท่านั้น แต่เพื่อที่ว่า เมื่อเกณฑ์การเงินของคุณเข้าเกณฑ์ หรือถึงเงื่อนไขที่จะต้องเสียภาษี คุณจะได้นำหลักฐานเหล่านี้ไปยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าหากว่าคุณไม่ได้เก็บหลักฐานการใช้จ่ายของคุณเอาไว้ อาจเสี่ยงทำให้คุณโดนเรียกเก็บย้อนหลัง และไม่มีอะไรเป็นหลักฐาน ที่จะช่วยหัก ค่าลดหย่อนส่วนตัวหรือค่าใช้จ่ายส่วนตัว (ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี) ของคุณเลย และนั่นอาจทำให้คุณเสียผลประโยชน์ได้ในที่สุด
คำถามที่พบบ่อย
Q : หากเป็นพนักงานประจำ และทำอาชีพเสริมขายของออนไลน์ไปด้วย ต้องยื่นเสียภาษีออนไลน์ (E-Payment) อย่างไร ?
A : หากคุณเป็นพนักงานประจำและทำอาชีพเสริม ขายของออนไลน์ไปด้วย เมื่อถึงเวลายื่นภาษี คุณต้องยื่น 2 ช่วง คือช่วงกลางปี ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 โดยยื่นเฉพาะรายได้ขายของออนไลน์ หรือสรุปรายได้ ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีในภาษีแรกที่ผ่านมา ทั้งนี้ค่าลดหย่อนบางรายการ จะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วยเช่นกัน เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000 เป็นต้น ส่วนตอนสิ้นปี หรือในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม ยื่นรายได้จากงานประจำและขายของออนไลน์ รวมกันด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 หรือเป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดในช่วงปีที่ผ่านมานั่นเอง
สำหรับพ่อค้าแม่ค้ารายใหม่ที่เริ่มต้นทำธุรกิจขายของออนไลน์ Weshopchina ขอแนะนำแหล่งสั่งสินค้าจากจีน ที่มีสินค้ามากมายให้เลือกสรร อาทิ Taobao และ 1688 รวมไปถึงสามารถใช้บริการชิปปิ้ง ขนส่งสินค้าจากจีนมาไทยได้ทั้งทางรถหรือทางเรือ ผ่านผู้ให้บริการชิปปิ้งชั้นนำในประเทศไทยอย่าง Shippingyou เป็นต้น แล้วคุณจะพบว่าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปสำหรับการ สั่งสินค้าจากจีน